สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่2
ความไม่ยุติธรรมของสนธิสัญญา
ข้อบกพร่องของสนธิสัญญาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มีสาเหตุมาจากประเทศชนะสงคราม และประเทศที่แพ้สงครามต่างก็ไม่พอใจในข้อตกลง เพราะสูญเสียผลประโยชน์ ไม่พอใจในผลประโยชน์ที่ได้รับ โดยเฉพาะสนธิสัญญาแวร์ซายส์ที่เยอรมันไม่พอใจในสภาพที่ตนต้องถูกผูกมัดด้วยสัญญาและต้องการได้ดินแดน ผลประโยชน์และเกียรติภูมิที่สูญเสียไปกลับคืนมา (ความไม่พอใจของฝ่ายผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อข้อตกลงสันติภาพ โดยเฉพาะสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์)
สนธิสัญญาสันติภาพที่ไม่เป็นธรรม ระบุให้ประเทศที่แพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย ค่าปฏิกรรมสงครามและเสียดินแดน เช่นสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมนี ต้องเสียอาณานิคม ต้องคืนแคว้นอัลซาล – ลอเรนแก่ฝรั่งเศส โปเซนและปรัสเซียตะวันตกให้โปแลนด์ มอรสเนท ยูเพนและมัลเมดีให้เบลเยี่ยม ชเลสวิคและโฮลสไตน์ให้เดนมาร์ก แคว้นซูเดเตนให้เชคโกสโลวาเกีย และ เมเมลให้ลิทัวเนีย จ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม ปีละ 5 พันล้านดอลลาร์ ถูกจำกัดกำลังทหารมีทหารได้ไม่เกิน 100,000 คน ห้ามเกณฑ์ทหารเป็นต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขี้น ฮิตเลอร์และพรรคนาซีได้ปลุกระดมต่อต้านการเสียค่าปฏิกรรมสงคราม และนำความอดยาก ยากจนมาให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง สนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Versailles Treaty) เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1919 ซึ่งนับเป็นวันยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่สนธิสัญญาฉบับนี้ได้ระบุให้เยอรมนีต้องรับผิดชอบจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมาก ถูกลดกำลังทหารและอาวุธ ถูกยึดดินแดนอาณานิคม ทำให้เศรษฐกิจเยอรมันตกต่ำ ประชาชนตกงาน เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงทั่วประเทศ ชาวเยอรมันโกรธแค้นมาก ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจในช่วงนี้ สร้างกระแสชาตินิยม ฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายส์ และพัฒนาอุตสาหกรรมและการทหาร จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II)
เงื่อนไขของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมนีต้องรับผลจากการสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างรุนแรง ดังต่อไปนี้
- เยอรมนีต้องสูญเสียดินแดนของตนคือ อัลซาสลอเรนให้แก่ฝรั่งเศส ต้องยอมยกดินแดนภาคตะวันออกให้โปแลนด์ไปหลายแห่ง
- ต้องยอมให้สันนิบาตชาติเข้าดูแลแคว้นซาร์เป็นเวลา 10 ปี
- เกิดฉนวนโปแลนด์ POLISH CORRIDOR ผ่านดินแดนภาคตะวันออกของเยอรมนีเพื่อให้โปแลนด์มีทางออกไปสู่ทะเลบอลติกที่เมืองดานซิก ซึ่งเยอรมนีถูกบังคับให้ยกดินแดนดังกล่าวให้โปแลนด์ เพื่อใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ยังผลให้ปรัสเซียตะวันออกถูกแยกออกจากส่วนอื่นของเยอรมนี ซึ่งฮิตเล่อร์ถือว่าเป็นสิ่งที่เขาไม่อาจยอมรับได้ต่อไป
- ต้องสูญเสียอาณานิคมทั้งหมดของตนให้แก่องค์การสันนิบาตชาติดูแลฐานะดินแดนในอาณัติ จนกว่าจะเป็นเอกราช
- ต้องยอมจํากัดอาวุธ และทหารประจําการลงอย่างมาก
- ต้องชดใช้ค่าเสียหายเป็นจํานวนมหาศาลให้แก่ประเทศที่ชนะสงคราม
ความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการ
ปัญหาทางการเมือง และเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้หลายประเทศหันไปใช้ระบอบเผด็จการเพื่อแก้ปัญหาภายใน เช่น เยอรมนีและอิตาลี นำไปสู่การแบ่งกลุ่มประเทศ เพราะประเทศที่มีระบอบการปกครองเหมือนกันจะรวมกลุ่มกัน
ความแตกต่างทางด้านการปกครอง กลุ่มประเทศฟาสซิสต์มีความเข้มแข็งมากขึ้น ได้รวมกันเป็น มหาอำนาจอักษะ (Berlin-Rome-Tokyo Axis ) จุดประสงค์แรก คือเพื่อต่อต้านรัสเซีย ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ต่อมาได้ขยายไปสู่การต่อต้านชนชาติยิวและนำไปสู่ความขัดแย้งกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร
ลัทธิชาตินิยมในประเทศเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น
ลัทธิชาตินิยมในช่วงคริสตศตวรรษที่20 ซึ่งได้เกิดขึ้นในหลายๆประเทศรวมทั้งเยอรมนีด้วยเป็น ลักษณะของลัทธิชาตินิยมมีลักษณะย้ำการดําเนินนโยบายของชาติของตน การดำรงไว้ซึ่งบูรณภาพของชาติ การเพิ่มอํานาจของชาติ ขณะเดียวกันเน้นความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมของตน มีความพยายามที่จะรักษาและเพิ่มพูนความไพศาล ศักดิ์ศรีและผลประโยชน์ของชาติตนไว้ มีการเน้นความสําคัญของเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ของตน ว่าเหนือเชื้อชาติ หรือเผ่าพันธุ์อื่น
ลัทธิฟาสซิสม์ เป็นคำที่มาจากภาษาละติน "fasces" มีความหมายกว้างๆ ว่าเป็นลัทธิชาตินิยมขวาจัดกับการใช้อำนาจสูงสูด ของผู้นำที่รับผิดชอบแต่ผู้เดียว พรรคฟาสซิสม์ที่รู้จักกันมาก คือ พรรคของมุสโสลินีที่เริ่มต้นการปกครองแบบสาธารณรัฐ ต่อต้านนายทุน เคลื่อนไหวทางศาสนาอย่างแข็งขันมากแล้วเปลี่ยนไป สู่การสนับสนุนระบบตลาดเสรี ระบอบกษัตริย์ และยังรวมถึงศาสนาด้วย อย่างไรก็ตาม ขบวนการณ์ฟาสซิสม์ทั้งหลาย (Oswald Mosley's Black-shirts ในบริเทน Iron Guard ในโรมาเนีย Croix de Feu ในฝรั่งเศส และที่มีแนวทางคล้ายกันในยุโรป) จะมีนโยบายที่ไม่ต่างกัน คือ การคุกคามกับการสร้างลัทธิชาตินิยมอย่างไม่จำกัดขอบเขต ไม่ยอมรับสถาบันประชาธิปไตย และเสรีใดๆ ที่ไม่ยินยอมให้พวกตนใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ แต่ถ้าเป็นหนทางที่จะได้มาซึ่งอำนาจ แล้วผู้ปกครองฟาสซิสม์จะไม่สนใจเรื่องการปกครองระบอบใดมากนัก ลัทธิฟาสซิสม์ เป็นศัตรูสำคัญของลัทธิสังคมนิยม มีลักษณะการเน้นที่บทบาทของผู้นำคนเดียว และมีความสัมพันธ์กับกองทัพอย่างลึกซึ้ง พรรคฟาสซิสม์กับนาซีจะมีแนวนโยบายเหมือนกันมาก และพรรคนาซีนั้นได้ใช้รูปแบบของพรรคฟาสซิสม์ มาพัฒนาให้ผู้นำมีอำนาจสูงสุด อย่างไรก็ตามแม้พรรคฟาสซิสม์จะมีนโนบายต่อต้านต่างชาติ แต่ฟาสซิสม์อิตาลีไม่ได้ต่อต้านพวกเซมิติคอย่างจริงจังเหมือนนาซี พรรคฟาสซิสม์อ่อนแอลงมากหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ก็ยังมีพรรคการเมืองที่มีแนวนโยบายคล้ายคลึง คือพรรคสังคมอิตาเลียน (Italian Social Movement) กับพรรคแนวหน้ารักชาติในอังกฤษกับฝรั่งเศส (National Front in Britain and France)
เนื่องจากความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ และเยอรมนีพัฒนาตนเองจนแข็งแกร่งเป็นอาณาจักรเยอรมนีที่ 3 และมีนโยบายบุกรุกดินแดน (นโยบายสร้างชาติภายใต้ระบอบเผด็จการ ฟาสซิสต์ในอิตาลี นาซีในเยอรมันและเผด็จการทหารในญี่ปุ่น)
ลัทธินิยมทางทหาร
ได้แก่ การสะสมอาวุธเพื่อประสิทธิภาพของกองทัพ ทำให้เกิดความเครียดระหว่างประเทศมากขึ้น และเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน
นโยบายต่างประเทศที่ไม่แน่นอนของอังกฤษ
การใช้นโยบายออมชอมของอังกฤษเมื่อเยอรมนีละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เช่น การเพิ่มกำลังทหารและการรุกรานดินแดนต่างๆ ทำให้เยอรมนีและพันธมิตรได้ใจและรุกรานมากขึ้น
ความอ่อนแอขององค์การสันนิบาตชาติ
เนื่องจากไม่มีกองทัพขององค์การ ทำให้ขาดอำนาจในการปฏิบัติการและอเมริกาไม่ได้เป็นสมาชิกจึงทำให้องค์การสันนิบาต เป็นเครื่องมือของประเทศที่ชนะใช้ลงโทษประเทศที่แพ้สงคราม (ความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติในการเป็นองค์กรกลางเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศ) และความอ่อนแอของ องค์การสันนิบาตชาติ ที่ไม่สามารถบังคับประเทศที่เป็นสมาชิกและไม่ปฏิบัติตามสัตยาบันได้
บทบาทของสหรัฐอเมริกา
สหรัฐปิดประเทศโดดเดี่ยว สมัยประธานาธิบดีมอนโร ตามแนวคิดในวาทะมอนโร สหรัฐจะไม่แทรกแซงกิจการประเทศอื่นและไม่ยอมให้ประเทศอื่นมาแทรกแซงกิจการของตนเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ประชาชนจึงเลือกพรรคเดโมแครต(Democratic Party)เข้ามาเป็นรัฐบาลปกครองประเทศโดยประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดี รุสเวลท์ ได้รับเลือกต่อกันถึงสี่สมัย ( ค.ศ.1933 – 1945 )
สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
ในช่วงทศวรรษ 1920 – 1930 โดยเฉพาะช่วง ในปี ค.ศ.1929-1931 ( ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 )
ภาพบุคคลสำคัญในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ |
เบนิโต มุสโสลินี |
เหตุการณ์ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
1.ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย แล้วตั้งเป็นรัฐแมนจูกัว เพื่อเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและแหล่งทำทุนใหม่สำหรับตลาดการค้าของญี่ปุ่น
2.การเพิ่มกำลังอาวุธของเยอรมัน และฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายส์
3.กรณีพิพาทระหว่างอิตาลีกับอังกฤษ ในกรณีที่อิตาลีบุกเอธิโอเปีย
4.เยอรมันผนวกออสเตรีย ทำให้เกิดสนธิสัญญา แกนเบอร์ลิน – โรม (เยอรมัน & อิตาลี) ต่อมาประเทศญี่ปุ่น เข้ามาทำสนธิสัญญาด้วย กลายเป็นสนธิสัญญา แกนเบอร์ลิน – โรม – โตเกียว เอ็กซิส
5.สงครามกลางเมืองในสเปน
6.เยอรมันเข้ายึดครองเชคโกสโลวเกีย
7.การแบ่งกลุ่มประเทศในยุโรป
ชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 2
เกิดจากเยอรมนีโจมตีโปแลนด์ และเรียกร้องขอดินแดนฉนวน ดานซิก คืนทำให้อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งสนับสนุนโปแลนด์ ประกาศสงครามกับเยอรมนีทันที ต่อมาเมื่อการรบขยายตัว ทำให้นานาประเทศที่เกี่ยวข้องถูกดึงเข้าร่วมสงครามเพิ่มขึ้น ( 1 กันยายน ค.ศ.1339)
ญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรของเยอรมนี เปิดฉากสงครามโดยโจมตีอ่าวเพิร์ล ฐานทัพของสหรัฐอเมริกา ในหมู่เกาะฮาวายเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 ทำให้สหรัฐอเมริกาประกาศเข้าร่วมสงครามฝ่ายเดียวกับชาติพันธมิตรอย่างเป็น ทางการ
ประเทศคู่สงครามใน WW.II
แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้
(1) กลุ่มประเทศฝ่ายพันธมิตร ชาติผู้นำที่สำคัญ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต รวมทั้งยังมีประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ เข้าร่วมสมทบด้วยอีกจำนวนมาก
(2) กลุ่มประเทศฝ่ายอักษะ ชาติผู้นำที่สำคัญได้แก่ เยอรมนี ญี่ปุ่น และอิตาลี
อาวุธที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2
“ค่ายเอาชวิตซ์” (Auschwitz)
ที่ใกล้เมืองเอาชวิตซิน โดยค่ายนี้สร้างขึ้นเพื่อสังหารชาวยิวด้วย การรมแก๊สพิษและเผาในเตาเผา โดยมีเหยื่อที่โดนถึง 1,200,000 จากที่ต่างๆ ทั่วยุโรป จํานวน 22 ล้านคน ไปที่ค่าย โดยขนไปทางรถยนต์ รถไฟ และเรือเดินสมุทร และปัจจุบันสภาพยังเหมือนเดิมทุกประการไม่ว่าเตารมแก๊ส เตาเผา ค่ายพัก คุก มีกลิ่นแห่งความตายติดมาด้วย
ระเบิดนิวเคลียร์ Little Boy ที่เมืองฮิโรชิมาญี่ปุ่น วันที่ 6 สิงหาคม 1945
ระเบิดนิวเคลียร์ FAT MAN ที่เมืองนางาซากิ ญี่ปุ่น วันที่ 9 สิงหาคม 1945
ตำแหน่งที่ระเบิดนิวเคลียร์ ลงที่ประเทศญี่ปุ่น สงครามโลกครั้งที่ 2
ในวันที่ 10 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ได้มีการคัดเลือกเป้าหมายที่ Los Alamos นำโดยเจ โรเบิร์ต นักฟิสิกส์ ใน “โครงการแมนฮัตทัน” ได้แนะนำ เป้าหมายสำหรับระเบิดลูกแรก คือ เมืองเกียวโต ,
ฮิโระชิมะ ,โยโกฮามา โดยใช้เงื่อนไขที่ว่า
ฮิโระชิมะ ,โยโกฮามา โดยใช้เงื่อนไขที่ว่า
เป้าหมายต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ไมล์และเป็นเขตชุมชุนที่สำคัญขนาดใหญ่ ระเบิดต้องสามารถทำลายล้างและสร้างความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายมียุทโธปกรณ์และที่ตั้งของทหารต้องได้รับการระบุที่ตั้งแน่นอน เพื่อป้องกันหากการทิ้งระเบิดเกิดข้อผิดพลาด
ภาพจากชาวญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตภาพรังสี
ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดในครั้งนั้น เรียกจุดที่ระเบิดถูกทิ้งลงใส่ ฮิโระชิมะ ว่า “ฮิบะกุชะ” ในภาษาญี่ปุ่นหรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “จุดระเบิดที่มีผลกระทบต่อชาวญี่ปุ่น” ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่น จึงมีนโยบายต่อต้านการใช้ระเบิดปรมณู ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และประกาศเจตนาให้โลกรู้ว่า ญี่ปุ่นมีนโยบายจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์, ในวันที่ 31 เดือนมีนาคม 2551 “ฮิบะกุชะ” มีรายชื่อผู้เสียชีวิตจากทั้งสองเมืองของญี่ปุ่น ที่ถูกจารึกไว้ประมาณ 243,692 คน และในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน มีรายชื่อผู้เสียชีวิตที่ถูกจารึกไว้เพิ่มขึ้นมากกว่า 400,000 คน โดยแบ่งออกเป็น เมืองฮิโระชิมะ 258,310 คน และเมืองนะงะซะกิ 145,984 คน
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2
1.มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ(UN : United Nations)เพื่อดำเนินงานแทนองค์การสันนิบาตชาติ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสันติภาพของโลกและให้กลุ่มสมาชิกร่วมมือช่วย เหลือกัน และสนับสนุนสันติภาพของโลก รวมทั้งการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ซึ่งนับว่ามีความเข้มแข็งกว่าเดิม เพราะสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งและมีกองทหารของสหประชาชาติ
2.ทำให้เกิดสงครามเย็น(Cold War)
3.ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ มีการนำอาวุธที่ทันสมัยและระเบิดปรมาณูมาใช้ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าสงครามโลกครั้ง
ที่ 1
ที่ 1
4.การเกิดประเทศเอกราชใหม่ๆ ประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกต่างประกาศเอกราชของตนเอง ทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชีย และ แอฟริกา และบางประเทศถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่น เยอรมนี เกาหลี เวียดนาม
5.สภาพเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
6.ความสูญเสียทางด้านสังคมและทางจิตวิทยา
7.เกิดมหาอำนาจของโลกใหม่ คือ สหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต
ประเทศไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2
เหตุผลที่ไทยต้องเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2
ไทยประกาศตนเป็นกลาง แต่ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นนำเรือรบบุกขึ้นชายทะเลภาคใต้ของไทยโดยไม่ทันรู้ตัว รัฐบาลต้องยอมให้ญี่ปุ่นผ่าน ทำพิธีเคารพเอกราชกันและกัน
ผลของการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2ของประเทศไทย
-ไทยต้องส่งทหารไปช่วยญี่ปุ่นรบ
-เกิดขบวนการเสรีไทย ซึ่งให้พ้นจากการยึดครอง
-ไทยได้ดินแดนเชียงตุง และสี่จังหวัดภาคใต้ที่ต้องเสียแก่อังกฤษกลับมา แต่ต้องคืนให้เจ้าของเมื่อสงครามสงบลง
-ไทยได้รับเกียรติเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น